วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การลับมีดกลึง








การลับมีดกลึง
ในการลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลง

มุมต่าง ๆ ของมีดกลึง มุมต่าง ๆ ที่สำคัญของมีดกลึง มีดังต่อไปนี้




1) มุมเอียงคมตัด เป็นมุมเอียงเพื่อลดแรงตัดเฉือน ขณะที่มีดกลึงตัดเฉือนชิ้นงาน
2) มุมหลบปลายมีด เป็นการลับหลบไม่ให้ปลายมีดเสียดสีกับผิวของชิ้นงาน
3) มุมหลบข้าง เป็นมุมหลบเพื่อไม่ให้ด้านข้างมีดสีกับชิ้นงานทำให้คมตัดเฉือนชิ้นงานได้
4) มุมรวมปลายมีด เป็นมุมที่เกิดจากการลับมุมเอียงคมตัดกับมุมหลบปลายมีด
5) มุมคาย เป็นมุมที่มีดกลึงคายเศษโลหะออกด้านข้าง ได้แก่ มุมคายของมีดกลึงปาดหน้า มีดกลึงปอก ส่วนมุมคายบน คือมุมคายที่อยู่ด้านบน แต่คายเศษโลหะเข้าหาลำตัดมีด ได้แก่ มีดกลึงตกร่อง มีดกัด เป็นต้น

2 ขั้นตอนการลับมีดกลึงหรือไสตกร่อง การลับมีดไสตกร่องบ่าฉากจะมีลักษณะการทำงานทเหมือนกันกับการลับมีดกลึงตกร่อง


1. ลับมุมด้านหน้ามีดให้ตั้งฉากกับลำตัวมีด พร้อมทั้งลับมุมหลบหน้ามีด เท่ากับ 8 องศา
2. ลับมุมหลบด้านข้างซ้าย เท่ากับ 1 องศา พร้อมทั้งลับมุมหลบข้างมีด เท่ากับ 2 องศา
3. ลับมุมหลบด้านข้างขวา เท่ากับ 1 องศา พร้อมทั้งลับมุมหลบข้างมีด เท่ากับ 2 องศา
4. ลับมุมคายบนเท่ากับ8 องศา

การลับมีดไส การลับมีดไสจะมีวิธีลับที่คล้าย ๆ กัน กับการลับมีดกลึง ต่างกันที่ค่าของมุมที่ลับ และขนาดมีดไสโดยทั่ว ๆ ไป จะมีขนาดใหญ่กว่ามีดกลึง เพราะต้องการความแข็งแรงมากกว่า แต่ก็สามารถใช้ขนาดเท่ากันได้ มีดไสมีมุมต่าง ๆ ดังนี้

การบำรุงรักษาเครื่องเจียระไนลับคมตัด

เพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องเจียระไนลับคมตัดใช้ได้ยาวนานจึงมีวิธีการบำรุงรักษา ดังนี้




1) ก่อนใช้เครื่องเจียระไนทุกครั้ง ต้องตรวจดูความพร้อมของเครื่อง หลังใช้งานให้ทำความสะอาดทุกครั้ง








2) ถ้ากระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติหรือไม่เต็มเฟสห้ามใช้เครื่องเจียระไนลับคมตัด เพราะมอเตอร์จะไหม้








3) แต่งหน้าล้อหินเจียระไน ทั้ง 2 ข้าง ให้สมดุล จะทำให้เครื่องเจียระไน ไม่สั่นสะเทือน

4) ไม่ควร กดลับชิ้นงานเจียระไน กับผิวหน้าหินเจียรนัยมากเกินไป เพราะจะทำให้หินแตกได้




5) หมั่นตรวจตราความเรียบร้อยของเครื่องเจียระไนลับคมตัดทุกจุดให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ หากเห็นจุดชำรุดเสียหาย ควรตรวจซ่อมทันที




6) ตรวจดูล้อหินเจียระไนว่ามีรอยร้าวหรือรอยบิ่นหรือไม่ เมื่อล้อหินเจียระไนไม่คมควรทำการแต่งหน้าหินเจียระไนใหม่




7) ควรตรวจสอบระยะห่างของแท่นรองรับเป็นประจำ โดยควรให้มีระยะห่างมากที่สุดไม่เกิน 3. มิลลิเมตรเพื่อป้องกันชิ้นงานหรือเครื่องมือตัดหลุดเข้าไปในระหว่างล้อหิน




8) หลังเลิกใช้งานทุกครั้ง ควรปิดสวิตซ์และทำความสะอาดเครื่องเจียระไน สม่ำเสมอ

2.6 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไนลับมือ
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน ขณะใช้เครื่องเจียระไนลับมือบ่อย ๆ คือ ผงเศษเหล็กหรือผงเศษหินกระเด็นเข้าตา นิ้วมือถูกล้อหินเจียระไนตัดขาด ล้อหินแตกกระเด็นมาถูกผู้ใช้ และไฟฟ้าดูดความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจียระไนลับมือ ดังนี้
1) ตรวจสภาพเครื่องเจียระไนก่อนใช้งาน
2) ห้ามใช้เครื่องเจียระไนลับมือ ในขณะที่สภาพร่างกายไม่พร้อม
3) การแต่งกายต้องรัดกุมขณะใช้เครื่องเจียระไนลับมือ
4) ต้องสวมแว่นตานิรภัย กันเศษเหล็กเข้าตา
5) การเจียรนัยชิ้นงาน ควรยืนอยู่ในท่าที่พร้อมปฏิบัติงาน
6) การลับชิ้นงาน กับล้อหินเจียระไนต้องจับชิ้นงานให้แน่น
7) การเจียระไนที่มีชิ้นงานขนาดเล็กให้จับชิ้นงานด้วยคีม
8) ขณะเจียระไนชิ้นงานควรจุ่มน้ำหล่อเย็นบ่อย ๆ เพื่อลดความร้อน
9) การเจียระไนลับคมตัด ชิ้นงาน ห้ามใส่ถุงมือ เนื่องจากจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อนิ้วมือของผู้ใช้ ได้ง่าย
10) การเจียระไนลับคมตัด ห้ามใช้ผ้ารองรับชิ้นงาน
11) การลับคมตัดชิ้นงานห้ามใช้หินด้านข้างลับ เพราะอาจทำให้หินแตกได้
12) ไม่ควรก้มหน้า ใกล้กับล้อหินเจียระไนเกินไป
13) เพื่อความปลอดภัย ในการใช้งานเครื่องเจียระไนลับคมตัด ต้องพึงระมัดระวังอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อยู่เสมอ